12 มิถุนายน 2553

การกระทำคืออะไร ตามความหมายในกฎหมายอาญา


มาตรา 59 บุคคลจะต้องรับผิดทางอาญาต่อเมื่อได้กระทำโดยเจตนา…..

การกระทำคือ การเคลื่อนไหวร่างกายโดยรู้สำนึก

รู้สำนึก คือ อยู่ภายใต้บังคับของจิตใจ

การกระทำไม่ว่าจะมีการเคลื่อนไหวร่างกายหรือไม่ต้องผ่าน 3 ขั้นตอนด้วยความรู้สำนึกในการที่กระทำ คือ

ต้องมีความคิดที่จะกระทำ
ตกลงใจที่จะกระทำตามที่คิด
ได้กระทำไปตามที่ตกลงใจอันสืบเนื่องมาจากความคิดการกระทำ
ฉะนั้น อาจแบ่งการกระทำได้ 2 ประเภทคือ

การกระทำโดยการเคลื่อนไหวร่างกาย
การกระทำโดยไม่เคลื่อนไหวร่างกาย


การเคลื่อนไหวร่างกายมิใช่จะเป็นการกระทำเสมอไป การเคลื่อนไหวร่างกายต้องเป็นการเคลื่อนไหวโดยรู้สภาพและสาระสำคัญของการกระทำคนละเมอ คนเป็นลมบ้าหมู ถูกผลัก ถูกชน ถูกจับมือให้ทำ ถูกสะกดจิต กรณีเช่นนี้ไม่มีการกระทำ*******

“การกระทำ” ให้หมายความรวมถึงการงดเว้นที่จะต้องกระทำเพื่อป้องกันผลนั้นด้วย (ม.59 วรรคท้าย)
การกระทำโดยไม่เคลื่อนไหวแยกได้ 2 ประเภท
โดยงดเว้น
โดยละเว้น
การกระทำโดย “งดเว้น” มีหลักเกณฑ์ คือ

เป็นการกระทำโดยการไม่เคลื่อนไหวร่างกาย
ผู้กระทำมีหน้าที่ต้องกระทำ
หน้าที่ตามข้อ 2 เป็นหน้าที่ซึ่งต้องกระทำโดยเฉพาะเพื่อป้องกันผลที่เกิดขึ้นนั้น
การกระทำโดย “ละเว้น” มีหลักเกณฑ์ คือ

เป็นการกระทำโดยการไม่เคลื่อนไหวร่างกาย
ผู้กระทำมีหน้าที่ต้องกระทำ
หน้าที่ตามข้อ 2 เป็นหน้าที่โดยทั่ว ๆ ไป


สรุป การกระทำโดยงดเว้น/ละเว้น ต่างกันตรงหน้าที่ ถ้าเป็น

- หน้าที่โดยเฉพาะเพื่อป้องกันผล (SPECIAL DUTY) การไม่ทำตามหน้าที่เป็นการกระทำโดยงดเว้น

- หน้าที่โดยทั่ว ๆ ไป (GENERAL DUTY) การไม่ทำตามหน้าที่ถือเป็นการกระทำโดยละเว้น

ตัวอย่าง แดงจ้างขาวไปฆ่าดำ ขาวตกลง ระหว่างขาวกำลังหาโอกาสที่จะฆ่าดำอยู่นั้น วันหนึ่ง ดำมาว่ายน้ำในสระน้ำ ดำเกิดเป็นตะคริวและกำลังจะจมน้ำ คำร้องขอให้ช่วย ขาวเป็นลูกจ้างประจำสระมีหน้าที่ดูแลความปลอดภัยของสระว่ายน้ำนั้น ขาวเห็นสามารถช่วยได้แต่ไม่ช่วยเพราะต้องการให้ดำตาย ในที่สุดดำตาย ขาวและแดงผิดฐานใด

ตอบ วินิจฉัยความผิดของผู้ลงมือก่อนแล้วจึงวินิจฉัยความผิดตัวการ ผู้ใช้และผู้สนับสนุนเพราะต้องขึ้นอยู่กับความผิดของผู้ลงมือ ฉะนั้นดูให้ดีว่าใครลงมือ

ขาวต่อดำ การที่ขาวปล่อยให้ดำจมน้ำตายโดยไม่ช่วยเพราะประสงค์ให้ตายอยู่แล้วเข้า 59 ว. ท้ายงดเว้นที่จำต้องกระทำเพื่อป้องกันผล เพราะขาวมีหน้าที่โดยเฉพาะที่จะป้องกันไม่ให้ดำตายเนื่องจากขาวเป็นผู้มีหน้าที่ดูแลความปลอดภัยของผู้มาว่ายน้ำ ขาวจึงผิด 289 (4) + 59 ว.ท้าย
แดงต่อดำ แดงเป็นผู้ใช้ให้ผู้อื่นกระทำความผิด เมื่อขาวผู้ถูกใช้ได้กระทำความผิดตามที่ใช้ แดงจึงต้องรับโทษเสมือนเป็นตัวการตาม 84 ว.2 แดงจึงมีความผิดตาม 289(4) + 84

หน้าที่ของการกระทำโดยงดเว้นมี 4 ประเภทคือ
หน้าที่ ตามกฎหมายบัญญัติ
ปพพ. 1563 บุตรต้องอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา
ปพพ. 1564 บิดามารดาต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์
ปพพ. 1461 สามีภรรยาต้องอุปการะเลี้ยงดูซึ่งกันและกัน
หน้าที่อันเกิดจากการยอมรับโดยเจาะจง ผู้กระทำยอมรับโดยตรงที่จะทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง การยอมรับก่อให้เกิดหน้าที่ที่จะต้องกระทำตามที่ตนยอมรับ
หน้าที่อันเกิดจากการกระทำก่อน ๆ ของตน ถ้าการกระทำของผู้กระทำน่าจะก่อให้เกิดภยันตรายอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้น ผู้กระทำย่อมมีหน้าที่ต้องป้องกันภยันตรายนั้น
ตัวอย่าง A เห็นคนตาบอดข้ามถนนเลยไปช่วย แต่พอพาไปกลางถนนรถเมล์มา A เลยวิ่งไปขึ้นรถทิ้งคนตาบอดไว้ ขาวขับรถมาชนถูกคนตาบอดตาย

ขาวผิด 291
แดงผิด 291 + 59 ว. ท้าย เป็นการฆ่า โดยงดเว้น
หน้าที่อันเกิดจากความสัมพันธ์เป็นพิเศษ
เช่น หลานไม่มีหน้าที่ต้องอุปการะ ป้า แต่ถ้าป้าคนนั้นเป็นคนเลี้ยงดูหลานมาแต่เด็กให้อาหารกิน ให้การศึกษาอบรม ภายหลังป้าแก่ตัวลงหลานไม่เลี้ยงดูปล่อยให้ป้าอดตาย อาจถือว่าหลานฆ่าป้าก็ได้

ผู้กระทำความผิดในทางอาญา แยกได้ 3 ประเภท
ผู้กระทำความผิดเอง ผู้นั้นได้กระทำความผิดด้วยตนเองโดยตรง เช่น แดงใช้ปืนยิงดำด้วยมือของ
แดงเองเช่นนี้ถือว่าเป็นผู้กระทำความผิดเอง การใช้สัตว์เป็นเครื่องมือในการกระทำความผิดการใช้บุคคลซึ่งไม่มีการกระทำ เช่น ถูกสะกดจิตเป็นเครื่องมือถือว่าเป็นการกระทำความผิดเอง

ผู้กระทำความผิดโดยทางอ้อม ผู้ที่หลอกให้ผู้อื่นกระทำความผิด ผู้ถูกหลอกมีการกระทำแต่ขาด
เจตนา ผู้ถูกหลอกมีการกระทำเพราะไม่ได้ถูกสะกดจิต ไม่ได้ละเมอแต่ผู้ถูกหลอดขาดเจตนา เพราะ 59 ว. 3 ผู้ถูกหลอกไม่รู้ ข้อเท็จจริงอันเป็นองค์ประกอบภายนอกของความผิด

หลักของการเป็นผู้กระทำความผิดโดยทางอ้อมมีหลัก คือ
มีเจตนากระทำความผิดการกระทำโดยประมาทไม่มีการกระทำความผิด โดยทางอ้อม
มีเจตนาหลอกให้ผู้อื่นกระทำความผิด
ผู้ถูกหลอดไม่มีเจตนากระทำความผิด
ฎ : 1013/05 ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จล.รู้ดีอยู่ก่อนแล้วว่าที่พิพาทเป็นของผู้เสียหาย จล.ยังร่วมกันจ้างให้

คนเข่าไปขุดดินในที่พิพาทและผู้รับจ้างจาก จล.ได้ขุดดินของผู้เสียหลายจนเกิดเป็นบ่อ ทำให้ที่พิพาทเสียหายเช่นนี้ การกระทำของ จล.ย่อมมีความผิดตาม ปอ.ม.358, 362 จล. จะเถียงว่ามูลกรณีเป็นคดีแพ่งมิใช่คดีอาญาย่อมฟังไม่ขึ้น

3. ผู้ร่วมในการกระทำความผิด ตัวการ ผู้ใช้ ผู้สนับสนุน

จะเป็นผู้ใช้ตาม มาตรา 84 ได้ผู้ถูกใช้ต้องมีเจตนากระทำความผิด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น