19 ตุลาคม 2553

ซอคืออะไร

ซอ

"จั้งซอ" คือผู้ที่สามารถ ขับขานซอได้ มีปฏิภาณ ไหวพริบ เป็นเลิศ

"คู้ถ้อง" คือจั้งซอ ชายและหญิง ที่ซอเป็นคู่ ร้องโต้ตอบกัน

"จั้งปี่-จั้งซึง" คือผู้ที่ทำหน้าที่บรรเลงดนตรีประกอบการขับซอ

"ผาม" เวทีหรือปะรำเล็ก ๆ นั้นเอง ขนาด 4 x 4 เมตร สูง 1.5-2 เมตร

ซอ…คือลำนำที่ขับร้องด้วยทำนองไพเราะ โดยมีซอเป็นเครื่องดนตรี

ที่ให้ทำนอง ซอจะต้องขับร้องด้วยถ้อยคำที่สัมผัสคล้องจองกัน ตามท่วงทำนอง

ของเพลงซอ นั้น ๆ ซอแต่ละทำนองนั้นจะส่งคำสัมผัสและคำรับสัมผัสที่

ไม่เหมือนกัน “คำซอ” หรือบทขับร้องซอนั้น จะไม่ส่งสัมผัสเหมือนบทค่าว

หรือบทกวีเลย แต่จะสัมผัสโยงถ้อยคำ ในทำนองแต่ละเพลงนั้นโดยเฉพาะเท่านั้น

ทำนองซอมีอยู่ด้วยกันหลายทำนอง แต่ก็ไม่มีประวัติที่ทราบแน่ชัด ที่เกี่ยวกับ

ผู้แต่งทำนองซอนั้น ๆ นอกจากจะให้ชื่อทำนองซอนั้นตามสถานที่ อันเป็นที่มา

ของทำนองซอนั้น ๆ เอาไว้ เช่นทำนองตั้งเชียงใหม่ ทำนองเชียงแสน ทำนองล่องน่านลำปาง ล่องน่านปั่นฝ้าย ซอพม่า ซอเงี้ยว ซออื่อ ซอจะปุ ซอละม้าย และ

ซอพระลอเป็นต้น

ผู้ที่ขับร้องซอนั้นเรียกกันว่า “จั้งซอ” และผู้เป่าปี่ที่ให้ทำนองนั้นเรียกว่า “จั้งปี่”

ซึ่งปี่ที่ใช้นำมาบรรเลงนั้น นิยมใช้ปี่ 5 เล่ม (เลา) ครั้นต่อมาจั้งปี่มีงานมาก

จึงได้แยกย้ายไปเป่าปี่ให้กับจั้งซอคู่อื่น ๆ ปี่ก็ลดลง 1 เล่ม เหลือเป็นปี่จุม 4

ประกอบด้วย ปี่แม่ ปี่กลาง ปี่ก้อย ปี่เล็ก

“จุม” ก็หมายถึงชุด หรือหมู่นั้นเอง และในสมัยปัจจุบันนี้ จั้งปี่รุ่นเก่าค่อย

หมดไปจากล้านนา เยาวชนรุ่นใหม่ก็ไม่ค่อยจะสนใจ วงปี่ซอจึงเหลือเพียง

จุม 3 เท่านั้น และได้มีซึงเข้ามาบรรเลงร่วม ประมาณ 10 กว่าปีมานี้เอง

เป็นที่น่าสังเกตว่า ซอที่ใช้ปี่นั้น จะมีเพียงเฉพาะในจังหวัด เชียงราย เชียงใหม่

เท่านั้น ซอทาง แพร่ น่าน จะใช้ซึงกับสล้อ เรียกว่าซอล่องน่าน

“จั้ง” ถ้าจะแปลเป็นความหมายภาษาไทยนั้นคือ “นัก” นั้นเอง เช่น นักร้อง

นักดนตรี แต่ภาษาเหนือจะเรียกว่า จั้งซอ จั้งปี่ จั้งแต้ม จั้งซึง ก็คือผู้ที่มี

ความสามารถในทางนั้น ๆ

“คู่ถ้อง” คำว่าถองนั้นหมายถึง การตอบโต้ ถามไถ่ หรือสนทนาแลกเปลี่ยนคำพูดกันระหว่างชายหญิง

ความเป็นมาของจั้งซอและซอถ้อง

สำหรับผู้จะเป็น ”จั้งซอ” นั้น มิใช้ว่าจะเป็นกันง่ายดายเหมือนการเป็น

นักร้องเพลงสตริงของวัยรุ่นในปัจจุบันที่ขายเพียงหน้าตา จะต้องฝึกฝน ท่องจำ

และมีสมองจำแม่นและประการสำคัญต้องเป็นคนที่มีไหวพริบและปฏิภาณที่

ยอดเยี่ยม และประการสำคัญต้องเป็นคนที่มีไหวพริบและปฏิภาณที่ยอดเยี่ยม

หากว่าไม่มีคุณสมบัติดังกล่าวแล้ว โอกาศที่จะเป็นจั้งซอที่มีชื่อเสียง และเป็น

ที่นิยมของประชาชนนั้นแทบจะไม่มีเสียเลย

ก่อนที่จะซอเป็นนั้น “จั้งซอ” จะต้องไปร่ำเรียนวิชาซอที่เรียกกันว่า

“ไปตั้งขันเฮียนซอ” จากจั้งซอที่มีชื่อเสียง หรือจั้งซอที่ตนเองนิยมชมชอบนั้นเอง

โดยมากในสมัยก่อนจำต้องไปอาศัยอยู่กับครูซอเสียเลย ไปปรนนิบัติวัฏฐาก

ตั้งแต่ ตักน้ำ ซักผ้า ถูเรือน หุงข้าว ทำอาหาร ตามประเพณีอันเป็นธรรมเนียม

ระหว่างลูกศิษย์กับอาจารย์ เมื่ออาจารย์ถ่ายทอดวิชาให้ ก็จะต้องหมั่นฝึกฝน

ท่องจำ และเมื่อพอมีความสามารถในเชิงซอบ้างพอสมควร ก็จะต้องติดตามครู

ไปทุกหนทุกแห่งที่ครูไปลงผามซอ ซึ้งจะต้องคอยไปดูลีลาท่าทางของครู

เพื่อที่จะได้นำมาใช้กับตนเองเมื่อยามที่เจนจบวิชาซอ และออกผามใน

โอกาศต่อไป อีกทั้งการที่ได้ออกไปสัมผัสผามซอนั้น ช่วยให้เกิดความเคยชิน

จะได้ไม่เกิดความประหม่าเมื่ออกผามใหม่ ๆ

ธรรมเนียมของคนล้านนาเรานั้น เมื่อลูกหลานเรียนจบชั้นประถม

อันเป็นชั้นสูงสุดแล้วมักจะไม่ส่งลูกหลานไปเรียนต่ออีก ทั้งนี้ก็เป็นเพราะฐานะ

ทางบ้านนั้นเอง เมื่อเรียนจบแล้ว หากว่าเป็นลูกผู้หญิง เมื่อไม่ช่วยพ่อแม่

ทำงานบ้านหรือดูแลน้อง ๆ แล้ว พ่อแม่ก็อาจจะนำไปฝากฝังกับครูซอที่ชอบพอกัน

เพื่อให้ลูกหลานของตนเองนั้นร่ำเรียนวิชาซอ การไปเรียนซอนั้น ใช้ว่าจะร่ำเรียน

สำเร็จกันทุกคนไปหมด ในจำนวนยี่สิบคนนั้น อาจจะมีเพียงหนึ่งหรือสองคนเท่านั้น

ที่จะประสบความสำเร็จได้

ส่วนลูกผู้ชายนั้น หากว่าเรียนจบชั้นประถมแล้ว เมื่อไม่ช่วยพ่อแม่ทำไร่ไถนา

แล้ว พ่อแม่ก็จะนำไปฝากกับพระภิกษุที่ตนเคารพนับถือ ให้ลูกเข้าไปอยู่ในวัด

ให้พระอบรมสั่งสอน ซึ่งเรียกว่าเป็นขะโยมวัด พร้อมกันนั้นก็ต้องร่ำเรียนตัวอักษร

พื้นเมือง หรืออักษรไทยวน เมื่ออยู่วัดพอสมควรสามารถอ่านเขียนภาษาพื้นเมือง

ได้แล้ว ก็ต้องเรียนพระสูตร เรียนหลักธรรม ซึ้งประมาณ 2 – 3 ปี ถึงจะเรียนรู้

ได้หมด เมื่อครูบาเจ้าวัดเห็นว่าสมควรที่จะให้บวชเป็นสามเณรต่อไปก็เรียกพ่อแม่

ไปปรึกษาหาหรือ และให้บวชต่อไปตามประเพณี คนเมืองเรานั้นเชื่อว่าลูกผู้ชาย

เมื่อบวชเป็นสามเณรแล้ว อานิสงฆ์ของการบรรพชานั้นก็สามารถทดแทนพระคุณ

พ่อแม่ จึงนิยมให้ลูกผู้ชายบวชกันมากในสมัยนั้น


ขอขอบคุณ :http://sor.cm77.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น