05 กรกฎาคม 2553

ทำไมถึงทำไม่ได้ ทำไมถึงไม่ชอบเอาใจใส่

....วันนี้มีเรียนตั้งแต่แปดโมงเช้า ในวิชาภาษาอังกฤษ academic reading&writing ในรายวิชา วันนี้อาจารย์ตัวจริงมาสอนเสียที หลังจากที่เปลี่ยนอาจารย์ผู้สอนหลายท่าน อาจารย์คนสวยลาราชการไปคลอดเจ้าตัวน้อยพยานรักของอาจารย์ อาจารย์ชื่ออาจารย์อติมา แก้วสอาด ชื่อเล่น อ.เอ๋ นิสัยท่านร่าเริงมากเลย ตัวเล็กและน่ารัก แต่ทว่า วิชาที่ท่านกำลังสอน ทำเอาฉันใจห่อเหี่ยวทุกที เพราะโดยปกติแล้วนิสัยส่วนตัว ฉันไม่ชอบภาษา (แล้วมาเรียนทำไมที่นี่) จึงอยากได้ความรู้จากด้านนี้ แต่นิสัยที่แย่ๆคือขี้เกียจท่องศัพท์และหลักไวยากรณ์ ยกเว้นหลักกฎหมาย การบ้านที่ได้ทำวันนี้ดูเหมือนจะเป็นภาระใหญ่สำหรับฉัน แต่คงไม่เป็นภาระสำหรับคนที่เก่งภาษาอังกฤษอยู่แล้ว ฉันทั้งไม่ได้ศัพท์และไวยากรณ์ ทำให้หัวข้อในวันนี้เป็นถุงหนักเลยทีเดียว ว่าแล้วอาจารย์ก็สั่งงาน ให้คิดหัวข้อแล้วก็เขียนออกมาเป็นย่อหน้า ประกอบด้วยใจความสำคัญ ใจความหลักและใจความรอง พอถึงท้ายคาบ อาจารย์ก็ตรวจให้แต่ละคน พอถึงตาฉันอาจารย์พูดว่า "อาจารย์ไม่เข้าใจเลยค่ะ หัวข้อของหนู" "ทำไมแกรมม่ามันวุ่นวายแบบนี้คะ" "เราคงต้องได้คุยกันบ่อยแล้วนะ" ฉันหน้าแดงเล็กน้อย เพราะว่าไม่ได้มีฉันคนเดียว เด็กนิติส่วนใหญ่ก็เป็นแบบนี้ ในใจฉันคิดต่อไปว่า "เราจะพบกันบ่อยได้ไงคะ ทั้งที่สำนักอาจารย์เค้าให้พูดอังกฤษ" "ศัพท์หนูก็ไม่ได้ ไวยากรณ์ยิ่งไปใหญ่ จะเอาคำไหนไปพูด" "อิ๊ดขนาดเลยเจ้า"(เหนื่อยมากๆเลยค่ะ) อยากรู้ไหมทำไมอาจารย์ไม่เข้าใจหัวข้อที่ฉันเขียน หัวข้อฉันคือ Nature Law (คงจะออกไฮเปอร์หน่อย แต่คนมันอยากเขียนนี่นา ให้เลือกหัวข้อที่อยากเขียน) อาจารย์แปลว่า กฎธรรมชาติ แต่ฉันแปล กฎหมายธรรมชาติ คำว่า written law อาจารย์ท่านแปล กฎหมายที่เขียน ฉันแปลว่า กฎหมายลายลักษณ์อักษร อาจารย์พูดต่อไปว่า "งั้นเอาไปเขียนเป็นย่อหน้า paragraph มาดีกว่า เผื่อครูจะได้รู้ว่า nature law คืออะไร ทำให้ครูรู้ให้ได้ แต่น่าสนใจดีนะ" แห้วกิน กินแห้ว ได้อีก
ฉันจึงคิดต่อไปว่า ถ้าฉันเปลี่ยนหัวข้อ คงเปลี่ยนมุมมองที่คาดว่าจะเขียน แต่ต้องเปลี่ยนไม่งั้นอาจารย์งงแน่ค่ะ (แต่อยากถามอาจารย์ว่า ถ้าอาจารย์ว่างเมื่อไหร่ หมายถึง อาจารย์ในสำนักของอาจารย์ว่างหนูจะเข้าไปปรึกษานะคะ คือว่าไม่ถนัดภาษาอังกฤษอย่างแรง ทุกทีก็เข้าใจนะคะ แต่พูดถึงเรื่องโม้ในการเขียนอังกฤษหนู่ไม่ถนัด)
....ตอนเย็นนี้ก็มีเรียนต่ออีก ต่อให้เรียนกฎหมายห้าหกตัว แลกกับอังกฤษสองตัว ข้าเจ้าก็ยอม เพราะว่าไม่ชอบเอาเสียเลย คำบางคำในกฎหมายอาจเข้าใจยาก อาจใช้เวลาอธิบายนาน บางคนอาจจะยังไม่เข้าใจดีนัก แต่ขึ้นชื่อว่าเป็นภาษาไทยของตัวเองบวกสัญชาตญาณความเป็นนักกฎหมายย่อมต้องเข้าใจอย่างถ่องแท้ เช่น คำว่ารู้สำนึก พฤติการณ์กับประกอบการ โดยมิชอบด้วยกฎหมาย กับผิดกฎหมาย การกระทำกับการงดเว้นกระทำการ เจตนา จงใจ ประมาทเลินเล่อ อันสมควรกับพอสมควร คำในอังกฤษแม้จะผ่านตามาบ่อยครั้ง แต่ไม่ยักจะจำ ในสมองไม่เคยจดจำได้

บทความโดย ภุมริน

ยังเขียนไม่เสร็จตอนเย็นมาระบายต่อ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น